Wyckoff in Depth - Part III

THE THREE FUNDAMENTAL LAWS

THE LAW OF SUPPLY AND DEMAND

Wyckoff นำกฏพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับตลาดทุน โดยกฏนี้มีอยู่ว่า เมื่อความต้องการมีมากกว่าปริมาณสินค้า ราคาของมันจะสูงขึ้น ในทางกลับกันเมื่อไหร่ก็ตามที่ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการ ราคาสินค้าก็จะลดลง แต่หากสินค้าและความต้องการเสมอกัน ราคาสินค้าจะคงที่ มันเป็นไอเดียพื้น ๆ ที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่มักจะเข้าใจผิดว่าราคาขึ้นเพราะคนซื้อมากกว่าคนขายและราคาลงเพราะคนขายมากกว่าคนซื้อ ซึ่งในความเป็นจริงจำนวนคนในตลาดนั้นเท่าเดิม

ราคาและปริมาณการซื้อขายเป็นผลลัพท์จากปฏิสัมพันธ์ของ Demand และ Supply ที่เราต้องตีความเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ในตลาด การวิเคราะห์กราฟราคาตามหลัก Wyckoff นั้นเป็นวิธีที่เหมาะสมกับตลาดทุน

THE LAW OF CAUSE AND EFFECT

เหตุและผล ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นซึ่งเหตุการณ์หนึ่ง (เหตุ) นำไปสู่เหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่ง (ผลลัพธ์)

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนแต่มีสาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นก็เช่นกัน ก่อนที่มันจะเป็นเทรนขาขึ้นหรือเทรนขาลง มันต้องมีเหตุมาก่อน สาเหตุโดยทั่วไปของการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นคือการเปลี่ยนมือของหุ้น

ในแง่ของการเคลื่อนไหวของราคานั้นจะแบ่งออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงก่อเหตุ และช่วงเกิดผล  ช่วงก่อเหตุคือช่วง sideway ที่รายใหญ่เริ่มลงมือกระทำการบางอย่างกับหุ้น เช่นสะสมหุ้นในช่วง Accumulation หรือกระจายหุ้นในช่วง Distribution ส่วนผลลัพท์คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการกระทำของรายใหญ่เหล่านั้นเสร็จสิ้น

หัวใจสำคัญของกฎข้อนี้คือ ผลลัพท์นั้นแปลผันโดยตรงกับสาเหตุ เหตุดีย่อมให้ผลที่ดี เหตุเล็กผลก็เล็กตาม ช่วง Accumulation หรือ Distribution นานเท่าไหร่ เทรนที่เกิดหลังจากนั้นย่อมนานเท่านั้น

THE LAW OF EFFORT AND RESULT

กฏความสัมพันธ์ของ ความพยายามและผลลัพท์

"The law of effort and result states that every action must have an equal and opposite reaction. The effort is represented by volume, while the result is represented by price. This means that the price action must reflect the volume action. Without effort there can be no result."

สำหรับตลาดหุ้น ความพยายามนั้นแสดงออกมาในรูปของ Volume ในขณะที่ผลลัพท์นั้นคือการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ซึ่งนั่นหมายความว่าทั้งสองอย่างนี้ต้องสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ถ้า Volume มา ราคาต้องวิ่ง ราคาจึงไม่ใช่สิ่งเดียวที่สำคัญ ปริมาณการซื้อก็สำคัญเช่นกัน บางทีอาจจะสำคัญกว่าราคาด้วยซ้ำ  เพราะปริมาณการซื้อขายนั้นคือจำนวนหุ้นที่เกิดการเปลี่ยนมือ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณการซื้อขายเป็นสิ่งที่บอกว่ามีรายใหญ่อยู่ในตลาดหรือไม่

ถ้าปริมาณการซื้อขายกับราคาไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ Volume มาราคาวิ่ง แสดงว่าการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นนั้นแข็งแรงมีนัยยะสำคัญ แต่เมื่อใหร่ก็ตามที่ทั้งสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเช่น Volume มาแต่ราคาไม่วิ่ง หรือราคาวิ่งแต่ Volume น้อย นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเปราะบางหรือมีความผิดปกติของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ

แท่งเทียน คือผลลัพท์ของการต่อสู้ระหว่างฝ่ายซื้อและฝ่ายขายที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด การวิเคราะห์ คือการตีความความสัมพันธ์ของขนาดแท่งเทียนกับปริมาณการซื้อขายว่ามันกำลังสื่อให้เห็นถึงอะไร

วิเคราะห์แท่งเทียนเป็นรายแท่ง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแท่งเทียนกับ Volume ทีละแท่งโดยหาก Volume เพิ่มขี้นและขนาดแท่งเทียนยาวขึ้นตาม ถือทั้งคู่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน หรือ Harmony แต่หาก Volume เพิ่มขี้นแต่ขนาดแท่งเทียนหดเล็กลง หรือแท่งเทียนยาวขึ้นแต่ Volume หดเล็กลง นั่นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกัน หรือ Divergence

วิเคราะห์แท่งเทียนที่เกิดขึ้นหลังแท่งเทียนที่มี Volume สูงสุด

หากกลุ่มของแท่งเทียนหลังจากแท่งเทียนที่เกิด Volume สูงสุดยกตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นแสดงว่าราคากับปริมาณการซื้อขายสัมพันธ์กันหรือ Harmony แต่หากแท่งเทียนที่เกิดหลังแท่งเทียนที่มี Volume สูงที่สุดไม่สัมพันธ์กับราคาหุ้นก่อนหน้า นั่นถือว่าเป็น Divergence หรือราคาและปริมาณการซื้อขายขัดแย้งกัน

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคากับ Volume ของแท่งเทียนทั้งกลุ่ม โดยทั่วไปแล้ว หากราคาเพิ่มขึ้นพร้อมกลับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นและปริมาณการซื้อขายลดลงเมื่อราคาตกลงมา ถือว่าราคากับปริมาณการซื้อขายนั้นสัมพันธ์กัน ในทางกลับกัน ถ้าราคาเพิ่มสูงขึ้นแต่ปริมาณการซื้อขายลดลง และปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเมื่อราคาลดลง แบบนี้ถือว่าราคาและปริมาณการซื้อขายไม่สัมพันธ์กัน

การวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นในแต่ละ wave

หลักการทั่วไปคือ เปรียบเทียบปริมาณการซื้อขายระหว่างคลื่นขึ้นกับคลื่นลง ถ้าปริมาณการซื้อขายในช่วงคลื่นขึ้นสูงกว่าปริมาณการซื้อขายในช่วงคลื่นลง แสดงว่าราคากับปริมาณการซื้อขายสัมพันธ์กัน แต่ถ้าปริมาณการซื้อขายในช่วงคลื่นลงสูงกว่าในช่วงคลื่นขึ้น นั่นแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งกันของราคากับปริมาณการซื้อขาย

การวิเคราะห์ราคากับปริมาณการซื้อขาย ณ จุดสำคัญ

หลักการคือ วิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายในจุดสำคัญ ๆ เช่นแนวรับ แนวต้าน เทรนไลน์ เป็นต้น หากราคาเบรคจุดสำคัญพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มมากขึ้น และราคาพักตัวหลังเบรคไม่กลับลงไปต่ำกว่าเทรนไลน์ แบบนี้ถือว่า ราคากับปริมาณการซื้อขายสัมพันธ์กัน แต่หากช่วงราคาพักตัวหลังเบรคเกิดราคาไหลกลับไปต่ำกว่าจุดเบรค แบบนี้ถือว่าราคาไม่สัมพันธ์กับปริมาณการซื้อขาย


PART 4 - THE PROCESSES OF ACCUMULATION AND DISTRIBUTION