All In Startup
Startup นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกขานบริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการทางอิเลคโทรนิคโดยเฉพาะ สถิติในการก่อตั้งขี้นและล้มเลิกไปของบริษัทประเภทนี้มากขึ้นทุกวัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้โอกาศในการก่อร่างสร้างตัวทำได้ง่ายขึ้น ทุกคนต่างมุ่งมั่นค้นหาไอเดีย และพยายามที่จะพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยความหวังที่จะประสบความสำเร็จเหมือนเช่นคนอื่น ๆ ที่เขาทำสำเร็จมาแล้ว
หนังสือเล่มนี้จะช่วยแนะแนวทางในการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ประสบความสำเร็จ เป็นที่ต้องการของตลาด
Dead loop of product builder.
ค้นหาความต้องการ จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้คนได้นั้น เราจำเป็นจะต้องสวมวิญญาณนักสืบ เพื่อสืบหาความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง แต่ส่วนใหญ่มักจะสวมวิญญาณของหมอดูแทนที่จะเป็นนักสือ คือ คาดเดา และมโน “ความล้มเหลวไม่ได้เกิดจากการที่เราไม่สามารถพัฒนา Product ออกมาได้ แต่ความล้มเหลวเกิดจากการที่เราไม่สามารถพัฒนา Product ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า” ต่างหาก
กระบวนการพัฒนา เมื่อรู้ว่ามีความต้องการในส่วนนี้แล้ว ก็ลงมือพัฒนา การพัฒนานั้นต้องทุ่มเททั้งเวลาและเงินทอง โดยส่วนใหญ่แล้วในกระบวนการนี้มักจะปิดเป็นความลับอันเนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ เช่นกลัวคนลอกเลียนแบบ เป็นต้น ผู้พัฒนาส่วนใหญ่มักจะคาดหวังกับผลิตภัณฑ์ไว้สูง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่จะออกสู่ตลาดต้องสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
พัฒนา Brand พวกเขาจะทุ่มเทเวลาในการคิดชื่อ โลโก้ ตลอดจนถึงการจดโดเมนเนมและสร้าง website ทำการตลาด ทำทุกอย่างให้ดูน่าเชื่อถือ
และสุดท้ายเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วค่อยออกไปหาลูกค้า ซึ่งก็เป็นเพียงการคาดการว่าใคร คนกลุ่มใหนที่จะเป็นลูกค้าเท่านั้นโดยมิได้มีข้อมูลที่ได้จากกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ๆ รองรับ
ซึ่งกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แนวทางนี้เป็นการเสี่ยงดวง มากกว่าการพัฒนาตามความต้องการที่แท้จริงของตลาด
คนที่ประสบความสำเร็จนั้นจะลงมือสร้างโชคดีของตนเอง ไม่ใช่การเสี่ยงโชค
The process to be successful product builder.
ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ไม่ได้เริ่มต้นจากไอเดียที่ดีเสมอไป แต่มักจะเริ่มต้นมาจากปัญหา เห็นปัญหา รับรู้ถึงการมีอยู่ของกลุ่มเป้าหมาย คิดถึงความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา แล้วค่อยสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ สิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการนี้คือ กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นลูกค้าของในอนาคต รู้ปัญหา รู้ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย และมีวิธีแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมาประสบความสำเร็จ เทียบกับกระบวนการแรก มีไอเดียหรือเจอปัญหา แล้วเดินหน้าสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราสร้างขึ้นมามันช่วยแก้ปัญหาจริงหรือเปล่า ถ้าช่วยแล้วปัญหานั้นเป็นปัญหาระดับใหน กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงคือใคร อยู่ที่ใหน และที่สำคัญเขาจะยอมเสียเงินเพื่อซื้อวิธีแก้ปัญหาหรือเปล่า
ลูกค้าไม่ได้จ่ายเงินซื้อผลิตภัณฑ์เพียงเพราะ idea ดี หรือวิสัยทัศน์อันเลิดหรู หรือ interface ที่สวยงาม แต่เขาจ่ายเงินเพื่อซื้อวิธีการในการแก้ปัญหา
เมื่อเห็นปัญหาแล้วสิ่งที่ต้องทำคือการไปคุยกับกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหานั้น การสัมภาษณ์คือการเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการมีอยู่ของปัญหา และเป็นการยืนยันว่ามีคนที่ประสบกับปัญหาที่เรามองเห็นอยู่จริง ไม่ได้เกิดจากการคิดทึกทักเอาเองว่ามันปัญหา วิเคราะห์ระดับความสำคัญของปัญหา สร้างผลิตภัณฑ์ เมื่อมีผลิตภัณฑ์ที่ดีตัวผลิตภัณฑ์ จะเป็นตัวสร้าง Brand ขึ้นมาเองและ Brand นั้นเป็นตัวชี้วัดว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
การที่เราจะสร้างผลิตภัณฑ์ให้ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องใช้การพิสูจน์แทนการคาดเดาหรือคาดหวัง เพื่อหาเหตุผลที่ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จ
การวิเคราะห์ปัญหา
ปัญหาคือบิดาของนักประดิษฐ์
โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา ตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่บนโลกใบนี้ ปัญหาก็จะยังคงมีอยู่ ถ้ามนุษย์ไม่มีปัญหาด้านการคมนาคม เราคงไม่มีรถยนต์ ถนน หนทาง ตลอดจนถึงเครื่องบินในทุกวันนี้ ถ้ามนุษย์ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสาร เราคงไม่มีระบบโทรศัพท์ที่พัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงระบบ internet ในปัจจุบัน “ปัญหา” คือต้นกำเนิดของนวัตกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการทำความรู้จักกับปัญหาจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ
กระบวนการสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาคือการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยแบ่งประเภทของปัญหาออกตามความรู้สึกคือ
- คัน
- เจ็บ
ระดับของปัญหาจะบอกเราเองว่ามันควรค่ากับการแก้ใขหรือไม่
การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
การรับรู้และมองเห็นถึงปัญหาของคนแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ปัญหาใหญ่ของคน ๆ หนึ่ง อาจจะไม่ใช่ปัญหาของคนอีกคนหนึ่งก็ได้ ดังนั้นการวิเคราะห์ปัญหาเป็นจึงเป็นการช่วยให้เราเห็นกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราแยกแยะกลุ่มเป้าหมายออกตามจำนวนคนที่ประสบปัญหาที่เรากำลังแก้ไข โดยการแบ่งเป็นสองขั้นตอนหลักคือ
- วัดขนาดของกลุ่มเป้าหมายตามจำนวน หลังจากที่ได้ขนาดของกลุ่มเป้าหมายแล้วเรายังไม่สามารถตัดสินได้ว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการนำกลุ่มเป้าหมายที่ได้ไปวิเคราะห์กำลังซื้อ หรือความสามารถในการใช้จ่ายก่อน
- วัดกำลังการใช้จ่ายของกลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเล็กแต่กำลังซื้อสูง
- กำลังซื้อปานกลางแต่กลุ่มเป้าหมายใหญ่
- กลุ่มเป้าหมายเล็กและกำลังซื้อไม่สูงนักหรือไม่มีกำลังซื้อ
เมื่อเราทำครบทั้งสองขั้นตอนแล้ว กลุ่มเป้าหมายจะบอกเราได้ว่ามันคุ้มค่ากับการแก้ปัญหานั้น ๆ หรือไม่
การสัมภาษณ์
พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริง สิ่งสำคัญที่สุดที่พึงระลึกอยู่เสมอคือ “ลูกค้าเท่านั้นที่จะบอกได้ว่า เราได้ค้นพบปัญหาที่คุ้มค่ากับการแก้ไขหรือไม่” ดังนั้นสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นปัญหา แท้ที่จริงแล้วอาจจะไม่ใช่ปัญหาจริงๆ ก็ได้ ถึงแม้ว่าบางครั้งมันอาจจะเป็นปัญหาจริง ๆ แต่ไม่ใช่ปัญหาที่ลูกค้าจำเป็นต้องจ่ายเงินซื้อ Solution ของเราก็ได้ เมื่อรู้ว่าปัญหาที่เห็นไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือปัญหาระดับไมเกรนที่แท้จริง คำตอบคือ สังเกตุจากปฏิกิริยาของกลุ่มเป้าหมาย เมื่อไหร่ที่หยิบยกปัญหาที่เป็นปัญหาอย่างแท้จริงออกมา ผู้ถูกสัมภาษณ์จะเป็นผู้สาธยายปัญหาเหล่านั้นออกมาให้เราฟังเอง มันเหมือนกับการเอานิ้วไปจิ้มตรงแผลสดของคนที่กำลังถูกสัมภาษณ์ เราไม่รู้หรอกว่ามันเจ็บปวดขนาดใหน คนถูกจิ้มจะเป็นคนแสดงออกถึงความเจ็บปวดนั้นออกมาให้เรารับรู้เอง ยิ่งเจ็บปวดเท่าไหร่ solution ที่เราจะพัฒนาออกมายิ่งมีคุณค่ามากเท่านั้น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์
ไม่มีความจำเป็นจะต้องรีบพัฒนาผลิตภัณฑ์ หากยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าลูกค้าต้องการจริง ๆ กระบวนการพัฒนาคือขั้นตอนที่สำคัญเพราะเกี่ยวพันถึงทรัพยากรทั้งบุคคล เงินทอง และเวลา ความเร่งรีบ อาจทำให้เราพลาดการปัญหาที่สำคัญที่แท้จริง ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลาในการแก้ไข ปรับปรุงซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องเกี่ยวพันถึงทรัพยากรต่าง ๆ ในเบื้องต้น ซึ่งหมายถึงการสูญเสียทรัพยากรของเราไปกับบางสิ่งที่สูญเปล่า
ถึงแม้ว่าเราจะค้นพบปัญหาระดับไมเกรนแล้ว การพัฒนาก็ควรจะเป็นไปอย่างระมัดระวังและปรับปรุงอยู่อย่างสม่ำเสมอ และท้ายที่สุด “อย่าเกหมดหน้าตัก ถ้าไม่มีโมเดลธุรกิจสนับสนุน”
When you focus on problems, you have more problems. When you focus on possibilities, you have more opportunities. #Kamari aka Lyrikal